ฝ่ายสนับสนุนการเรียนรู้

ฝ่ายสนับสนุนการเรียนรู้ (Learning Support) เชื่อว่าเด็กทุกคนมีเอกลักษณ์และความสามารถที่จะเรียนรู้เมื่อได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม จุดมุ่งหมายของฝ่ายสนับสนุนการเรียนรู้คือ การเป็นเสาหลักแก่นักเรียนและครูตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษา

จุดประสงค์มีดังนี้

  • เพื่อพิจารณาโดยทันทีว่านักเรียนคนไหนต้องการความช่วยเหลือหรือนักเรียนคนไหนมีความสามารถสูงกว่าระดับชั้นเรียนปกติ

  • เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (ครู ผู้ปกครอง ผู้บริหาร ผู้มีส่วนร่วม) ตระหนักถึงความต้องการของนักเรียน จึงเป็นหน้าที่ของทุกคนในโรงเรียนที่ต้องให้การช่วยเหลือสนับสนุน

  • เพื่อเก็บประวัติข้อมูลของนักเรียน ด้านเป้าหมายการเรียนรู้ การได้รับความช่วยเหลือตั้งแต่เริ่มแรก และผลการเรียนรู้ของนักเรียน

  • เพื่อสนับสนุนการรับรู้ความเป็นตัวตนของนักเรียน ช่วยนักเรียนให้เห็นจุดแข็งและจุดควรแก้ไขของตนเอง

  • เพื่อสนับสนุนความเป็นเอกลักษณ์ของนักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนที่อายุมาก ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจจุดมุ่งหมายของการเรียน และการได้รับความช่วยเหลือ

  • เพื่อให้ความร่วมมือและสนับสนุนทุกฝ่ายที่ช่วยเหลือนักเรียน

  • เพื่อให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองสม่ำเสมอ

การให้ความช่วยเหลือนักเรียนของฝ่ายสนับสนุนการเรียนรู้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

ประวัติข้อมูลนักเรียน

  • ข้อมูลทั่วไป

  • ข้อมูลความประพฤติและผลการเรียน

  • รายงานของครู

  • แผนการให้ความช่วยเหลือ

การคัดกรอง/การช่วยเหลือขั้นต้น

  • วิเคราะห์จากผลสอบของ MAP

  • ผลการสอบระดับประถมศึกษา (เกรด 1-3)

  • ผลสอบด้านวิชาการ/กระบวนการคิด

การประเมินผล

  • การสังเกตุในห้องเรียน

  • วิธีการเรียนรู้

  • ผลการสอบ

  • ผลอ้างอิงจากโรงเรียนเดิม

การสนับสนุนของผู้ปกครอง

  • แผนการให้ความช่วยเหลือจากทางบ้าน

  • การประชุมครู ผู้ปกครอง เมื่อจำเป็น

การเพิ่มเติม/การเสริมการเรียนรู้

  • ให้การช่วยเหลือในห้องเรียน

  • การละเล่นและกิจกรรมส่งเสริม

  • กิจกรรมหลังเลิกเรียนที่มีค่าใช้จ่าย

ห้องสื่อการเรียนรู้/ห้องเรียน

  • ทักษะการเรียนรู้

  • การแก้ไข/การช่วยเหลือ

  • เสริมทักษะการเรียนรู้

การสนับสนุนของนักเรียน

  • แผนการปรับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม

  • เป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคน

  • กิจกรรมที่นักเรียนสนใจ

  • กิจกรรมส่งเสริม/คลับสอนการบ้าน/การวิเคราะห์จัดกลุ่ม

  • การจัดกลุ่มเสริมเฉพาะ

การสนับสนุนของครู

  • ดูภาพรวมของ LS และกรอบความคิดของ SST

  • ให้การช่วยเหลือในห้องเรียน

  • ใช้เทคนิคการสอนหลากหลาย/มีสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม

  • จัดประชุมกับฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง